วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย (ตอนที่1)

                                               
กีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด   แต่สันนิษฐานว่าระยะแรกๆเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวน  จนมีการจัดการแข่งขันกันระหว่างชุมชน สโมสรและสมาคมมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒เป็นต้นมา
          ปี พ.ศ.๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้นโดย  "อาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ" เป็นผู้แปลและท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง   จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น  ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล  แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น และในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก  โดยใช้กติกาการเล่นระบบ ๙ คน  พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล  สมัยนั้นมี "น.อ.หลวงศุภชลาศัย ร.น."  ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา  และตั้งแต่นั้นกีฬาวอลเลย์บอลก็ถูกพัฒนามาโดยตลอด



ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย(ตอนที่2)



ปี พ.ศ ๒๕๐๐  ประเทศไทยได้จัดตั้งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นโดยมี  "พลเอกสุรจิตร  จารุเศรณี"  เป็นนายกสมาคมคนแรก  เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๐  และได้รับชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า  "สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย"          
 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้าและดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน     มีหน่วยราชการอื่นๆจัดการแข่งขันประจำปีเช่น  กรมพลศึกษา  กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย  เทศบาลนครกรุงเทพฯ        สภากีฬาทหาร  ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทยได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี
        ปัจจุบันกีฬาวอลเลย์บอลได้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย  มหาวิทยาลัยและตามหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันมากมายหลายรายการ  เป็นประจำทุกปีโดยการดำเนินงานของสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี


ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอลสากล (ตอนที่1)

     
 กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิล เลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ ฟุต นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่ หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)  


ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอลสากล(ตอนที่2)

  ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ( Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล"(Volleyball) โดยศาสตราจารย์อัลเฟรดให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมากปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

กฎกติกาในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล


การแข่งขัน
            ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
            ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น            เลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
            
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
            
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การเปลี่ยนแดน
            เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น            ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น            ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น

ลักษณะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล


วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีลูกอัดด้วยลมเป็นอุปกรณ์ในการเล่น  และเล่นในพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งครึ่งด้วยตาข่าย  โดยมีลักษณะการเล่นทั่วๆไปดังนี้
                1.จุดมุ่งหมายการเล่น  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตั้งแต่ศรีษะจนถึงเท้าเล่นลูกบอล  ซึ่งอาจตี  ตบ  ต่อยให้ลูกบอลไปตกในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามและในขณะเดียวกันต้องพยายามรักษาพื้นที่ไม่ให้ลูกบอลตกในแดนของตนด้วย

                2.ผู้เล่น  การเล่นครั้งหนึ่งๆ โดยทั่วไปจะมีผู้เล่นฝ่ายละ  6 คน มีผู้เล่นสำรองอยู่นอกสนามอีกฝ่ายลำไม่เกิน 6 คน  ซึ่งจะเปลี่ยนเข้าไปเล่นกันได้ตามกติกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปัจจุบันมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด และมีการจัดการแข่งขันประเภทต่างๆซึ่งช่วยส่งเสริมให้กีฬาวอลเลย์บอลพัฒนาการเล่นมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นผู้เล่นอาจจะมีฝ่ายหนึ่งน้อยกว่า 6 คน ก็ได้

                3.สถานที่ใช้เล่น  สนามที่ใช้เล่นมีขนาด   กว้าง 9 เมตร  ยาว 18 เมตร มีตาข่ายกั้นกลางสนาม  ผู้ชายใช้ตาข่ายสูง 2.43 เมตร ผู้หญิงใช้ตาข่ายสูง 2.24 เมตร  สำหรับความสูงของตาข่ายนี้อาจจะลดลงมาได้อีก   ตามที่ฝ่ายจัดการแข่งขันจะกำหนดตามความเหมาะสม

                4.การเล่น  การเล่นเริ่มด้วยทีมที่ชนะการเสี่ยงอาจจะเลือกเสริฟ์หรือเลือกแดนหรือเลือกรับลูกเสริฟ์อย่างใดอย่างหนึ่ง  การเสริฟ์จะต้องเสริฟ์ภายในเขตเสริฟ์ให้ลูกข้ามตาข่ายไปยังฝ่ายรับ  จากนั้นทั้งสองฝ่ายต้องพยายามโต้ลูกกลับไปมา  โค้ชอาจจะขอเวลานอกหรือขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น  การเล่นจะดำเนินต่อไปตามกติกา

                5.การได้คะแนน  ถ้าทีมใดที่ไม่สามารถรับลูกบอลที่ข้ามตาข่ายมาได้ตามกติกาหรือเล่นผิดกติกา  ผลที่ตามมาคือทีมนั้นเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกส่วนทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายชนะการเล่นลูกและคะแนน  ซึ่งถ้าทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายเสริฟ์ก็จะได้เสริฟ์ต่อไป  แต่ถ้าเป็นฝ่ายรับลูกเสริฟ์จะได้สิทธิทำการเสริฟ์และได้คะแนน  การได้คะแนนจะได้ครั้งละ 1 คะแนน

                6.การแพ้ชนะ  ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อนและมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะการแข่งขันในเซตนั้น  แต่ถ้าทำได้ 25 คะแนนเท่ากันจะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง  2 คะแนน  เช่น 26-24 , 27-25  เป็นต้น                  ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2:2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5 ) จะแข่งขันกันเพียง 15 คะแนน และทีมที่ชนะการแข่งขันต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน แต่ถ้าทำได้ 14 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งจะทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง 2 คะแนน เช่น 16-14 , 17-15 เป็นต้น เมื่อเล่นชนะกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต (แล้วแต่จะกำหนดกันก่อนการแข่งขันว่าจะแข่งขันกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต ) ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ

ขั้นตอนการสอนทักษะการเสริฟ

ขั้นตอนที่ 1 การเสริฟมือล่าง


จุดสำคัญในการสอน  ประยุกต์เทคนิคการส่งลูกมือเดียวมาใช้ เหวี่ยงแขนพร้อมยืดตัวขึ้น แขนไม่แกว่ง

ขั้นตอนที่ 2 การเสริฟมือบน

จุดสำคัญในการสอน :  ลำตัวตรง โยนบอลไม่สูงเกินไป ใช้ข้อมือขณะตีบอล





ขั้นตอนที่ 3 การเหวี่ยงแขนเสริฟมือบนเปลี่ยนทิศทาง

จุดสำคัญในการสอน :  โยนบอลไม่สูงเกินไป เหวี่ยงแขนไปด้านหลังงอศอก เหวี่ยงแขนกลับข้ามหัวไหล่ ใช้ข้อมือตีบอล ขณะตีบอลให้หยุดเหวี่ยงแขน


ขั้นตอนที่ 4 เหวี่ยงแขนเสริฟมือบน

จุดสำคัญในการสอน :  โยนบอลให้สูงกว่าขั้นตอนที่ 3 เหวี่ยงแขนไปด้านหลังแล้วเหวี่ยงแขนกลับโดยยืดแขนและลำตัวตีบอล

ขั้นตอนการสอนทักษะการรับเสริฟ

ขั้นตอนที่ 1 รับลูกเสริฟด้านหน้า


จุดสำคัญในการสอน :  ใช้หลักพื้นฐานการส่งบอล เคลื่อนที่ส่งบอล เคลื่อนที่ให้ลูกบอลอยู่หน้าลำตัว ลำตัวย่อต่ำและสายตาจ้องที่ลูกบอล

ขั้นตอนที่ 2 ย่อตัวต่ำรับลูกเสริฟ

จุดสำคัญในการสอน : เคลื่อนที่ย่อตัวใต้ลูกบอล

ขั้นตอนที่ 3 การรับลูกเสริฟด้านข้าง
จุดสำคัญในการสอน :  เคลื่อนที่ไปด้านข้างด้วยวิธีก้าวเท้าเท่านั้นไม่ใช้ไขว้เท้า

สนามเเข่ง

สนามแข่งขัน 
            สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 X 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3.00 เมตร รอบด้าน
ที่ว่างสำหรับผู้เล่นคือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูกซึ่งไม่มีสิ่งใดกีดขวางอย่างน้อยที่สุด 7.00 เมตร สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5.00 เมตร จากเส้นข้าง 8.00 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร